Open Government Summit 2016 (2)
Published by SocialTech,
Blog ที่แล้วเล่าเรื่องความเป็นมาของ Open Government Partnership และความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยไป อ่านได้ที่ http://socialtech.or.th/post/open-government-summit-2016-1
ในการประชุม Open Government Summit หรือ #OGP16 ในครั้งนี้ มีหัวข้อที่น่าสนใจคือเรื่อง Civic Tech หรือเรียกการใช้เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วมของพลเมืองก็ได้ มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นใน OGP16 ทั้งการเสวนา workshop และ Hackathon หัวข้อที่คิดว่าดีที่สุดเท่าที่ฟังมาเมื่อวานนี้ (8 ธ.ค.) คือหัวข้อ Fork and Merge จากเพื่อนชาวไต้หวันจากองค์กรที่ชื่อว่า g0v (อ่านว่า Gov Zero) กับผู้ร่วมเสวนาจาก แอฟริกาใต้ เยอรมัน และเม็กซิโก
Fork and Merge คือการนำเสนอประสบการณ์จากการสร้างชุมชนเทคโนโลยีภาคพลเมือง (Civic Tech) จากทั้ง 4 ประเทศข้างต้น
กรณีศึกษาของไต้หวัน
ที่ไต้หวัน g0v เป็นองค์กรที่เป็นลักษณะเครือข่าย มีการจัด Hackathon หลัก ๆ ทุก 2 เดือน มีคนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2300 คน โดยมีทั้ง โปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ ภาคประชาสังคม และนักวิชาชีพต่าง ๆ โดยเริ่มทำกิจกรรม มาตั้งแต่ปี 2012 เน้นเรื่องการพัฒนา Open Source Software เพื่อขยายการมีส่วนร่วมของพลเมืองผ่านช่องทางดิจิทัล มีการทำ visulization งบประมาณของรัฐบาลไต้หวันมาตั้งแต่ปี 2012 นำไปสู่ระบบ Open Budget ของเทศบาลนครไทเป เพื่อแสดงการจัดสรรงบประมาณของเมือง และ ให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการใช้งบประมาณได้
ที่ไต้หวันมีการใช้ดิจิทัลในการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งไม่ง่าย มีการพัฒนา crowd sourcing platform ที่เรียกว่า VTaiwan มีทั้งเรื่องการทำ poll ความเห็นของประชาชน การรายงานเรื่องต่าง ๆ จากประชาชน การติดตามโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ฯลฯ มีการใช้เครื่องมือนี้เพื่ออภิปรายความเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น เรื่องการเข้ามาของ Uber
กรณีศึกษาของเม็กซิโก
เม็กซิโก มีกลุ่มกิจกรรม Civic Tech ที่ชื่อว่า Civica Digital ทีนนี้พัฒนา OpenData Portal ของเม็กซิโกซิตี้ชื่อ datos.labcd.mx มีการทำเครื่องมือ Opendata สำหรับประชาชนเพื่อมีส่วนร่วมกับนโยบายยุทธศาสตร์ดิจิทัลของประเทศ และทดลองใช้ OpenData ทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
โครงการการมีส่วนร่วมกับของภาคประชาชนของเม็กซิโกชื่อ URBEM เป็นระบบประเมินการให้บริการของหน่วยงานรัฐผ่านระบบ chatbot ประชาชนสามารถส่งข้อมูลผ่าน chatbot เพื่อให้คะแนนความพึงพอใจในการใช้บริการหน่วยงานภาครัฐ และมีเว็บไซต์แสดงผลที่ประชาชนใน feedback หน่วยงานต่าง ๆ
กรณีศึกษาของเยอรมัน
เยอรมัน กิจกรรม Civic Tech ใช้ชื่อว่า Code for Germany ทำกิจกรรมในเมืองต่าง ๆ ทั่วเยอรมัน ที่เยอรมันถือหลักว่า “Innovation without Permission" โดยนำเอา Open Data ที่ออนไลน์อยู่แล้วแต่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้เท่าไหร่มา visualize ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ
เยอรมันสร้างเครื่องมือการมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยคนในชุมชน และสื่อ มีการสร้างระบบ crowdsource ตัวอย่างเช่นเมืองอุตสาหกรรมอย่าง Stuttgart แก้ปัญหามลพิษ โดยให้กลุ่ม Maker ทำ sensor วัดระดับมลพิษ และให้คนในชุมชนไปติดตามบ้านและส่งข้อมูลออนไลน์เพื่อแสดงระดบัมลพิษในพื้นที่ต่าง ๆ ในเมือง เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน
กรณีศึกษาของแอฟริกาใต้
แอฟริกาใต้ใช้ชื่อกลุ่มว่า Open Data Durban มาการพัฒนาระบบเพื่อถามประชาชนว่าอยากเห็นรัฐบาลเคปทาวน์จัดสรรงบประมาณแบบไหน ใน platform Captown Budget Project
Open Data Durban บอกไม่เน้นการทำ Hackathon แต่เน้นการลงไปทำงานกับกลุ่มคน และชุมชน เพื่อนำเอาเรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชนในเมืองมานำเสนอปัญหา และร่วมกันหาทางออก
นอกจากนี้ในวงเสวนายังได้คุยเรื่องสิ่งที่ควร หรือ ไม่ควรทำของการสร้าง Civic Tech ดังนี้
- ไม่ต้องรอใครอนุญาติ ลงมือทำเลย!
- ออกแบบร่วมกับผู้ใช้ (ประชาชน) เอาการแก้ปัญหาเป็นศูนย์กลาง
- การร่วมกันทำงานกับรัฐยังมีความสำคัญ พยายามให้กิจกรรมสอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐด้วย
- คิดถึงระบบ Eco System ของ Civic Tech ด้วยว่าอย่างไรจะยั่งยืน
จะเห็นว่า Civic Tech มีบทบาทสำคัญในการสร้าง Open Government อย่างไรก็ตามนวัตกรรม Civic Tech จะประสบความสำเร็จได้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปิดรับฟังความเห็น และภาครัฐยินดีที่จะปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งไม่มีการปิดกั้น หรือจำกัดความคิดเห็น หรือกล่าวโทษผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐซึ่งเป็นพื้นฐานขั้นต้นของ Open Government
ไกลก้อง ไวทยการ
Klaikong Vaidhyakarn
Social Technology Institute