YouthSpark Summit 2016 at Microsoft Redmond
Published by SocialTech,
อย่างที่เป็นกระแสกันมาทางฝั่ง CSR ของบริษัท Technology ยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Google หรือ Facebook ในการส่งเสริมให้ทุกคนมาเรียนรู้ computer science เพราะวันข้างหน้าเราคงต้องอยู่ในโลกของ Internet of Things และ A.I.

ครั้งนี้ผมได้รับเชิญจาก Microsoft ฐานะที่ Change Fusion เป็น partner ในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง computer science ให้กับเยาวชน โดยร่วมกับกิจการเพื่อสังคมอย่าง A-chieve และ Good Factory ไปร่วมประชุมที่เรียกว่า Youth Spark Summit ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท Microsoft ที่เมือง Redmond นครซีแอตเติล สหัรัฐอเมริกา เป็นการเชิญ partner ที่ทำงานร่วมกับ Microsoft จากทั่วโลกมาร่วมระดมความคิด และศึกษาวิธีการใหม่ ๆ ในการสนับสนุนให้เยาวชนมาเรียนรู้ computer science เพิ่มขึ้น โดยสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในลักษณะออฟไลน์ หรือแบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ และพัฒนาเป็นการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ กระทั้งอาจมุ่งสู่อาชีพสายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกลายเป็น Tech Startups

บรรยากาศภายในศูนย์ประชุม และ visitor center
การประชุมเน้นเรื่องการระดมสมองว่าจะทำอย่างไร ให้การเรียน computer science ถูกนำไปเป็นหลักสูตรหนึ่งในการศึกษาปกติ รวมทั้งสามารถนำเด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาปกติเข้ามาเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดโอกาสทางด้านอาชีพให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่พูดถึงแนวการทำงานแบบ PPP หรือ Public and Private Partnership

อีกส่วนหนึ่งคือ workshop วิธีการเรียน computer science และที่น่าสนใจคือกระบวนการของ CS Unpluged คือการเรียนคอมพิวเตอร์ โดยไม่ใช้คอมพิงเตอร์ เช่นการเริ่มต้นเรียนและทำความเข้าใจกับเรื่องเลขฐานสอง (binary) หรือวิธีที่โปรแกรมทำงาน (algorithm) โดยเป็นเกมง่าย ๆ ใครสนใจสามารถไปศึกษาที่ http://csunplugged.org และ กระบวนการแบบ online ในการเริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมที่ code.org เป็นต้น รวมทั้งการเชิญคนที่ทำงานในสาย computer science มาเล่าประสบการณ์ในการทำงานซึ่งหลายเรื่องเกี่ยวกับการใช้ Big data เช่นการใช้ sensor เก็บข้อมูลของนักกีฬาเพื่อวิเคราะห์การเล่น เป็นต้น


ในเมืองใทย Microsoft จัดกิจกรรมทั้ง Youth Spark และ Hour of Code หลายครั้งทั้งในกรุงเทพ และที่แม่ฮ่องสอน รวมทั้งแบบ workshop Code สำหรับกิจการเพื่อสังคมที่อยากมีเว็บผ่านการใช้เครื่องมืออย่าง Wordpress ซึ่งต่อมาได้มี partner เพิ่มขึ้นอย่าง Nectec ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเรื่อง code และ computer ได้รับการขยายผล ไม่ใช่แค่ให้เด็กใช้เป็น แต่ต้องเข้าใจเครื่องมือ และสร้างสรรค์งานบนเครื่องมือเทคโนโลยีได้ด้วย


ส่งท้ายด้วยการเยี่ยม Cyber Crime Center ของ Microsoft เป็นศูนย์ปราบ Malware โดยใช้ Bigdata กับ Machine learning ในการวิเคราะห์การกระจายและพื้นที่ระบาดของ Malware โดยเฉพาะ Malware ประเภท keyboard sniffer ที่คอยเก็บ password ของ online banking และทำงานร่วมกับหน่วยบังคับใช้กฎหมายเพื่อหาตัวคนทำอาญชกรรมคอมพิวเตอร์ แต่เขาบอกว่าการทำงานของศูนย์ ยึดหลังเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) ด้วย ศูนย์นี้ยังช่วยสนับสนุนเรื่องการปราบภาพอนาจารเด็ก โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ชื่อว่า PhotoDNA (https://www.microsoft.com/en-us/photodna) โดยระบบนี้จะคอยตรวจภาพอนาจารเด็กที่ส่งต่อกันทางอินเทอร์เน็ต และทำฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ให้บริการต่าง ๆ สามารถพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบในระบบของตัวเองว่ามีภาพเหล่านี้อยู่หรือไม่ เป็นการยับยั้งการแพร่ภาพอนาจารเด็กได้อีกทางหนึ่ง