City Dashboard : มาตรวัดเมือง


ถึงวันนี้ bigdata หรือข้อมูลขนาดใหญ่คงไม่ใช่คำศัพท์ใหม่ที่ไม่คุ้นหู bigdata หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างชัดเจนมากขึ้น คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเริ่มได้ประโยชน์จาก bigdata ง่ายๆ คือข้อมูลการจราจร เช่น google map แสดงข้อมูลจราจรเกือบจะ real time โดยเอาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร่วมกันทั้งข้อมูลจากศูนย์ควบคุมการจราจร รวมทั้งข้อมูลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในระบบ Android ทำให้เราสามารถเลือกเส้นทางที่รถติดน้อยที่สุด ในการเดินทางได้
Bigdata จะเกิดขึ้นได้คงต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่างคือ 1. แหล่งกำเนิดข้อมูล ส่วนใหญ่ก็เป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับต่าง ๆ ทั้งน้ำ อากาศ อุณหภูมิ การเคลื่อนไหว ฯลฯ 2. เครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูง เช่น 4G หรือ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เมื่อ 2 อย่างนี้มีมากและครอบคลุมอยู่ตรงไหน ตรงนั้นก็จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งหนีไม่พ้นพื้นที่ในเขตเมือง ดังนั้นในยุคปัจจุบันเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของโลกเริ่มให้มาใช้ bigdata ในการสนับสนุนข้อมูลในการตัดสินใจ
แน่นอนว่าเมืองใหญ่ที่มีประชากรเป็นหลักล้าน และมีการเคลื่อนไหวของประชากรในเมือง ยานพาหนะ หรือสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเช่น การใช้พลังงาน หรือ ระดับมลพิษ สามารถก่อปัญหาในเมืองได้ตลอดเวลา การขยายตัว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการการตัดสินใจของผู้บริหารเมืองอย่างรวดเร็วด้วย การใช้ data มาช่วยในการบริหารเมืองจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเมืองใหญ่ในปัจจุบัน หลาย ๆ เมืองจึงพัฒนาระบบที่เรียกว่า City Dashboard หรือมาตรวัดความเคลิ่อนไหว และการทำงานของหน่วยบริหารเมืองขึ้นมา ที่ได้รับความชื่นชม และยกตัวอย่างบ่อย น่าจะเป็นนครบอสตัน ในสหรัฐอเมริกา
ภาพ บอสตัน Major Dashboard จากเว็บไซต์ pbs.org

City Dashboard ที่เทศบาลเมืองบอสตัน พัฒนาโดยทีมงานของนายกเทศมนตรี มาร์ตี้ วอช ไว้เพื่อมอร์นิเตอร์การทำงานและปัญหาในเมืองบอสตัน ทั้งด้านกายภาพของเมือง เช่น ถนนฟัง ไฟถนนเสีย ถังขยะเต็ม และเรื่องสังคม เช่น การเยี่ยมชุมชนของเจ้าหน้าที่ ปริมาณการใช้ห้องสมุดสาธารณะ อัตรากรเกิดอาญชกรรม เป็นต้น การแสดงข้อมูลแบบ real time ผ่านระบบสารสนเทศ มีหน้าจอแสดงภาพรวมในห้องทำงานของนายกเทศมนตรี ทำให้การบริหารงานของเทศบาลเมืองบอสตันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินการทำงานได้ง่าย อาทิ เมื่อมีการแจ้งถนนพัง ระบบจะบอกตำแหน่งของถนนที่เสียหาย และส่งไปยังหน่วยงานโยธาเพื่อซ่อมแซมภายใน 24 ชั่วโมง หรือ การจัดเส้นทางรถเก็บขยะ จากข้อมูลเซ็นเซอร์จากถังขยะว่าถังไหนใกล้เต็ม เพื่อที่จะได้กำหนดเส้นทางการเก็บ เป็นการประหยัดน้ำมันและลดปัญหาการจราจร การบริการ และ การแก้ปัญหาในเมืองจะถูกในมาคำณวณเป็น city score หรือคะแนนของเมือง และเปิดให้สาธารณะได้เห็นและมีส่วนร่วมในการประเมินการทำงานซึ่งเป็นแนวคิดรัฐบาลเปิด หรือ Open Government
บางคนบอกว่าบอสตันมีทั้งเงิน ทั้งคนเรื่องแค่นี้ทำไม่ยากอะไร อาจจะจริงแต่จะบอกว่าใกล้บ้านเราอย่างเทศบาลกรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย ผู้ว่าฯนครจาการ์ต้า แม้มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่นครจาการ์ต้าใช้วิธี opendata ที่สำคัญของเมืองออกมาให้เหล่า tech startup ช่วยพัฒนาระบบ Smart City ผ่านการแฮคกาธอน จนนครจาการ์ต้ามี city dashboard ใช้งานและประชาชนสามารถเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ เช่น การจราจาร กล้อง CCTV ระดับมลพิษ รวมทั้งการแจ้งปัญหาของเมืองเพื่อการแก้ไขที่รวดเร็ว ผลิกโฉมการบริหารเมืองไปที่เดียวด้วยงบประมาณทั้งหมดของระบบนี้ 2.4 ล้านเหรีญสหรัฐหรือประมาณ 84 ล้านบาท
ก็ได้แต่หลังว่ากรุงเทพมหานครของเราจะลงทุนกับระบบข้อมูล สร้าง city dashboard และ opendata ของเมืองเพื่อแป็นมืองที่รองรับวิถีชีวิตยุคใหม่ ที่สิ่งแวดล้อมที่ดี การจราจรที่ดี อุบัติภัยและอาชญากรรมที่น้อยลง และสุขภาพกายใจที่ดีของคนในเมือง
ภาพ แผนที่ของ จาการ์ต้า smart city จากเว็บไซต์ opengovasia.com
ไกลก้อง ไวทยการ
https://www.facebook.com/socialtechorth/