Digital Strategy for Development Summit 2014
Published by SocialTech,
ไกลก้อง ไวทยการ
Social Technology Institute
การประชุมว่าด้วยยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาสังคม หรือ Digital Strategy for Development Summit (www.dsds.org.ph) จัดขึ้นที่ กรุงมินิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2-3 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา เป็นการประชุมเพื่อนำเสอนแนวคิดและบทเรียนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานสังคม โดยการประชุมได้แบ่งเป็นหัวช้อย่อย ๆ คือ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน การบริการภาครัฐ การเตรียมพร้อมรับมือและการจัดการภัยพิบัติ และ นวัตกรรมสังคมและกิจการเพื่อสังคม
ส่วนตัวแล้วสนใจทุกเรื่อง แต่เรื่องที่เลือกเข้าไปฟังในกลุ่มย่อยคือการจัดการภัยพิบัติ เพราะฟิลิปินส์เผชิญภัยพิบัติที่เป็นประจำคือ พายุใต้ฝุ่น และนำ้ท่วม ฟิลิปปินส์ประสบภัยซุปเปอร์ใต้ฝุ่นไหหนาน หรือชาวฟิลิปปินส์เรียกว่าโยลันดา ไปเมื่อปีที่แล้ว (2013) สร้างความเสียหายอย่างมาก แต่อีกด้านคือเหตุการณ์ใต้ฝุ่นทำให้เกิดนวัตกรรมด้านการรับมือภัยพิบัติเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาครัฐ ระบบสารสนเทศโดยใช้ Social media เป็นเครื่องมือสำคัญ และการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในชุมชน
รัฐบาลฟิลิปปินส์มีได้ทำเว็บข้อมูลภัยพิบัติเรียกว่า NOAH โปรเจค คือเว็บรวมข้อมูลด้านอากาศแสดงผลบนแผนที่มีทั้งข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณฝน ภาพถ่ายดาวเทียมพยากรณ์อากาศ การคาดการณ์น้ำท่วมและระดับน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ข้อมูลจากเซนเซอร์ตรวจวัดต่าง ๆ

ภาพ:แผนที่แสดงปริมาณฝนบนเว็บ NOAH

ภาพ:พื้นที่เสี่ยงนำ้ท่วมในเมือง Makati City
ฝั่งภาคประชาสังคมเองมีการใช้เครื่องมือสารสนเทศที่เน้นสื่อสังคมออนไลน์ ที่มานำเสนอคือโครงการที่ชื่อ MovePH ของเว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยี Rapplep โดยการใช้ศักยภาพของนักข่าวพลเมืองรายงานสถานการณ์จากพื้นที่ภัยพิบัติโดยใช้ระบบที่พัฒนาจาก CrowdMap ของ Ushahidi และบนหน้า Facebook ของ Rapplp ยังมีการโฟสเพื่อตามหายผู้สูญหายจากพายุ
โดยใช้วิธีการโพสและ tag ชื่อเพื่อส่งต่อกัน

ภาพ:ระบบของ Rapplep

ภาพ: การโพสตามหาคนหายบนหน้าเพจของ Rapplep
การเตรียมพร้อมในระดับชุมชนก็สำคัญทั้งการใช้วิทยุชุมชน ระบบ SMS และการสร้างความตื่นตัวโดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน เพื่อที่จะได้ช่วยในการเตือนภัยและการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในชุมชน

ภาพ: การใช้ SMS เตือนเมื่อเกิดภัยพิบัติในชุมชน
สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือระบบสื่อสารในพื้นที่ภัยพิบัติ ใน DSDS ได้มีการพูดถึงการใช้ TV White Space ในการส่งสัญญาณคลื่นพื้นเชื่อมอินเทอร์เน็ตในระยะไกล TV White Space เป็นการใช้คลื่นความถี่สัญญาณโทรท้ศน์อนาล็อคที่ไม่ได้ถูกใช้งาน เพราะการส่งสัญญาณออกอากาศทีวีได้เปลี่ยนเป็นดิจิทัล ซึ่งข้อดีคือ TV White Space ส่งสัญญาณได้ในระยะไกล มีอุปกรณ์และเสาสัญญาณที่ติดตั้งง่าย

ภาพ: ตัวอย่างอุปกรณ์และเสาอากาศ TV White Space
การประชุม Digital Strategy for Development Summit ครั้งนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาสังคมไม่ว่าด้านใดก็ตาม เห็นได้ชัดว่าต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนหรือการทำงานแบบ multi stakeholder เพราะแต่ละประเด็นเป็นเรื่องใหญ่ และท้าทาย ในช่วงนี้มีหลายหน่วยงานเริ่มต้นทำโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ หรือ Disaster Risk Deduction เทคโนโลยี นวัตกรรม และ การทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนจะเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้เราเตรียมพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติในอนาคต
ไกลก้อง ไวทยการ @klaikong
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License. CC BY 4.0