Asia Pacific Open Data Summit 2015 Taipei part2

ไกลก้อง ไวทยการ
Social Technology Institute

หลังจากได้ทีมชนะจาก Thailand-Taiwan Open Data Hackathon ทั้ง Mha Muang และ Death Clock เราทั้งหมดก็เดินทางไปไต้หวันเพื่อร่วมงาน Asia Pacific Open Data Summit 2015 ที่ Taipei ในวันที่ 14 - 15 ตุลาคมที่ผ่าน ทั้งนี้ทั้ง 2 ทีมได้ขึ้นรับรางวัลจากรองนายกรัฐมนตรีไต้หวัน และได้แสดงผลงานให้กับผู้ที่เข้าร่วมประชุม (อ่านรายละเอียด Thailand-Taiwan Open Data Hackathon ที่ http://bit.ly/APOD15 )


Asia Pacific Open Data Summit 2015 เป็นการจัดครั้งแรกในภูมิภาค โดยมีสำนักพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวันเป็นเจ้าภาพ ส่วนกำลังหลักของการจัดงานคือ Taiwan Computer Association งานนี้สิ่งที่ได้เห็นหลัก ๆ คืออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และ Tech Startups ของไต้หวันได้ประโยชน์จาก Open Data เป็นอย่างมาก โดยมีกว่า 700 แอปพลิเคชั่นเกิดขึ้นหลังจากที่มี Open Data

Ecosystem เยี่ยมผลัก Opendata ไต้หวัน

โดยรัฐบาลไต้หวันเริ่มการเปิดเผยข้อมูลแบบ Open Data ตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันมีการเปิดเผยกว่า 13,000 datasets ทั้งนี้บุคคลที่คอยผลักดันเรื่องนี้คือรองนายกรัฐมนตรีไต้หวัน Chang San-cheng

การที่ Open Data ที่ไต้หวันประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่รัฐบาลเปิดเผย Data เท่านั้นภาคเอกชน และภาคประชสังคม ของไต้หวันก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันการใช้ประโยชน์จาก Open Data โดยมีการจัด Hackathon กันบ่อยมากในไต้หวัน รวมทั้งประเด็นการใช้ประโยชน์จาก Open Data เป็นการใช้เพื่อนำ Data มาแก้ไขปัญหาสังคม ทั้งเรื่องความโปร่งใส โดยมีการเปิดเผย Data เรื่องการจัดซื้อ จัดจ้าง เป็นอันดับแรกๆ และเรื่องหนึ่งที่ไต้หวันได้ประโยชน์สูงจาก Open Data คือเรื่องภัยพิบัติเห็นได้ชัดคือการต่อยอดด้านข้อมูลภัยพิบัติสู่การทำเป็น business model ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจประกันภัย และภาคอุตสาหกรรมในไต้หวัน หรือแม้ไม่มีภัยพิบัติแอปที่เกี่ยวข้องกับ Open Data ภัยพิบัติก็สามารถช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลให้กับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งทำในลักษณะกิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise


ตัวอย่าง application KNY พยากรณ์อากาศพร้อมแจ้งเตือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ตัวอย่าง application geoBingAn แจ้งขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ และเมื่อไม่มีภัยก็สามารถแจ้งเหตุต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานเช่น เทศบาล

ในการประชุมครั้งนี้คณะทำงานได้พาไปชมศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ National Center for High Performance Computing เป็นศูนย์ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data โดยใช้ Super Computer ขนาดสองหมื่น core คิดคำนวณ โดยทางศูนย์นำเสนอการใช้ความสามารถของ Super Computer ทำแบบจำลอง 3D สภาพภูมิประเทศของไต้หวัน และทิศทางลมเมื่อไต้ฝุ่นพัดเข้ามา ทำให้ช่วยประเมินสถานการณ์รับมือกับภัยพิบัติพายุได้ดีขึ้น


ผลงานการ render ภาพจาก super computer จากข้อมูลชั้นความสูง (contour) ทั้งเกาะไต้หวัน http://iflyover.tw/

ประสบการณ์จากการไปร่วมงานครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ Open Data เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม Open Data ที่ไต้หวันโตขึ้นแบบ bottom up คือผู้ใช้ Data มีส่วนสำคัญอย่างมากในการผลักดันให้มีการเปิดเผย Dataset ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวทางที่ฝันอยากให้เกิดขึ้นในเมืองไทยจริง ๆ